บำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม

วันที่ 3 มิถุนายน 2014
  8,827 views

ผู้ประกันตนสามารถคำนวณเงินบำนาญชราภาพในเบื้องต้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นมาตราฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

3. ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

4. สำนักงานประกันสังคมเริ่มจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2541

สูตรคำนวณ:

เงินบำนาญรายเดือน = {[20+(1.5*(t-15))]*w}/100
w = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
t = ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบกรณีชราภาพ

1397887_632972330114928_3454133521911675812_o

ตัวอย่างตารางคำนวณเงินบำนาญรายเดือน

สำหรับผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างมากกว่าหรือเท่า 15,000 บาท ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบสูงสุดไม่เกือบเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้นค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ15,000 บาท
หากท่านส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลา 15 ปี ท่านมีสิทธิรับบำนาญรายเดือนเดือนละ 3,000 บาท แต่หากท่านส่งเงินสมทบต่ออีก 10 ปี บำนาญรายเดือนของท่านจะเพิ่มเป็น 5,250 บาท

2014-05-21-4

หมายเหตุ: เจตนารมณ์ที่พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพเป็นบำนาญรายเดือนให้แก่ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินพอเลี้ยงชีพทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต ทั้งนี้ หากสำนักงานประกันสังคมจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวหรือที่เรียกว่าบำเหน็จ ให้แก่ผู้ประกันตนแล้วผู้ประกันตนทยอยใช้เงินดังกล่าวทุกเดือนในอัตราเดียวกับการรับเงินบำนาญ เงินบำเหน็จดังกล่าวจะใช้ได้ประมาณ ๕ ปีเท่านั้น

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม