ซื้อรถหรูในนามบริษัท ซื้อเงินสดหรือเงินผ่อนดีกว่า

วันที่ 6 พฤษภาคม 2015
  75,220 views

ecacc_580504_001

การซื้อรถเก๋งที่มีราคาสูงหรือรถหรูไว้ใช้โดยจดทะเบียนในนามบริษัท ตามกฏหมายจะสามารถนำไปหักค่าเสื่อมได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยจะต้องแบ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า  5 ปี ถ้าจะซื้อรถเก๋งที่ราคาเกินกว่า 1 ล้านบาท มาดูกันว่าซื้อรถเป็นเป็นเงินสดหรือเงินผ่อนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

สมมุติว่า รถราคา 3 ล้านบาท ในกรณีที่ซื้อเป็น “เงินสด” จะหักค่าใช้จ่ายเป็นค่าเสื่อมราคาได้ปีละ 200,000 บาท เงินส่วนเกิน 1 ล้านบาท จะต้องนำมาบวกกลับเป็นรายได้ และต้องเสียภาษีนิติบุคคลอีก 20% (กรณีบริษัทมีกำไรเกิน 1 ล้านบาท) เท่ากับว่าจะต้องเสียภาษีอีก 400,000 บาท รวมราคารถเป็น 3,400,000 บาท

ในกรณีที่จะซื้อเป็นเงินผ่อน จะมีการทำสัญญา 2 แบบ คือ แบบเช่าซื้อกับแบบลิสซิ่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านกฏหมายและภาษี

ผ่อนแบบเช่าซื้อ
ด้านกฏหมาย กรรมสิทธิ์ในรถจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันทีที่ผ่อนค่างวดงวดสุดท้ายแล้ว
ด้านภาษี ผู้เช่าจะต้องบันทึกรถเป็นสินทรัพย์โดยถือตามราคาที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ (ราคารถ + ดอกเบี้ย) และหักค่าเสื่อมราคาได้ในมูลค่าต้นทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทสำหรับรถยนต์นั่ง และต้องหักไม่น้อยกว่า 5 ปี

ผ่อนแบบลิสซิ่ง
ด้านกฏหมาย รถจะยังไม่เป็นสินทรัพย์ของผู้เช่า ยังต้องมีการแสดงเจตนาจากผู้เช่าว่า เมื่อจ่ายค่าเช่าครบตามกำหนดแล้ว มีประสงค์จะซื้อรถในราคาซากที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ถ้าตกลงจะซื้อจึงจะโอนกรรมสิทธิ์
ด้านภาษี หักค่าเช่าเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 36,000 บาท (รวม VAT) ต่อคันต่อเดือน

วิธีการที่เหมาะสมที่สุด คือ การผ่อนแบบลิสซิ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องตาวน์ในจำนวนที่จะให้ผ่อนเดือนละ 36,000 บาท (รวม VAT แล้ว) และเมื่อครบ 5 ปี ก็ยังสามารถจะนำมาจัดสิลซิ่งต่อได้อีก เดือนละ 36,000 บาทจนกว่าจะหมด ซึ่งจำนวนนี้ต่อปีจะเป็นค่าใช้จ่ายที่หักค่าใช้จ่ายได้อีก 432,000 บาทต่อปี

การนำเงินสดไปซื้อรถเก๋งในราคา 3 ล้านบาท จะเสียประโยชน์เรื่องการวางแผนทางภาษี เพราะการซื้อเงินสดหรือเแบบเช่าซื้อ จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 1 ล้านบาท แต่ถ้าจัดแบบลิสซิ่งสามารถที่จะนำรถมาหักค่าใช้จ่ายได้สูงกว่า อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยแบบลิสซิ่งจะสูงกว่าแบบเช่าซื้อ แต่เมื่อนำคิดถึงประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคลจะได้รับประโยชน์มากกว่าแบบอื่น

ecacc_580504_002