คุณคือใคร? ในมุมมองของสรรพากร

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2014
  10,173 views

เมื่อมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีออกมา ก็มักจะมีคำว่า บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการ หรือ นิติบุคคล เนื่องจากกฏหมายอาจจะมีผลเฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานบริษัทแต่ละเดือนรับเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ก็จะถือว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” แต่ถ้าคุณมีทำอาชีพอื่นเสริมด้วย เช่น ขายของทางอินเตอร์เน็ต สถานะของคุณก็จะเปลี่ยนเป็น “ผู้ประกอบการ” เป็นต้น การตีความในข้อกฏหมายจะต้องมีคำนิยามอธิบายว่าคำที่อ้างถึงมีความหมายว่าอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในกรณีที่เกิดเป็นคดีความกันขึ้น

“บุคคล” หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล
“บุคคลธรรมดา” หมายความรวมถึง กองมรดก

แต่เมื่อบุคคลมีอาชีพใดๆ ก็ตาม ก็จะเปลี่ยนจากบุคคลเป็น “ผู้ประกอบการ” เช่น ตัวแทนขายตรง หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นหาบเร่แผงลอย

“ผู้ประกอบการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ ในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้ รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่

และเมื่อผู้ประกอบการไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ก็จะเปลี่ยนเป็น “ผู้ประกอบการจดทะเบียน” ซึ่งมีความหมายดังนี้

“ผู้ประกอบการจดทะเบียน” หมายความว่า ผู้ประกอบการที่ได้จด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 85 หรือ มาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตาม มาตรา 85/3

จากคำนิยามนี้ ทำให้เรารู้ว่าขณะนี้เราคือใคร เพราะจะมีกฏหมายและระเบียบ สิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคุมแต่ละประเภทไป ซึ่งท่านอาจจะได้รับสิทธินั้นได้ถ้าเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้

นิยามสรรพากร_2

 

อ้างอิง คำนิยามในประมวลรัษฎากร มาตราที่ 77