มารู้จัก IP6 กันเถอะ

วันที่ 17 กันยายน 2014
  2,349 views

internet_concept

ผู้ที่เคยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำจะสังเกตหรือไม่ว่า บางครั้งจะไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ อาจจะมีข้อความว่าให้รอเลขไอพีแอดเดรสอะไรทำนองนี้ แสดงว่าในขณะนั้นมีผู้งานเป็นจำนวนมากจะต้องรอให้ผู้อื่นออกจากการติดต่ออินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นเราจึงจะมีสิทธิ์ในการใช้งาน เนื่องจากเวลามีการเชื่อมอินเทอร์เน็ต จะมีการกำหนดเลขประจำตัวให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน ซึ่งก็คือเลข ไอพีแอดเดรส (IP Address) ในการเรียกแต่ละครั้งจะได้เลขไอพีนั้นไปจนกระทั่งมีการออกจากการเชื่อมต่อ เลขนั้นก็จะยกเลิกและคนอื่นก็มีสิทธิจะใช้งานต่อ

จากการที่อินเทอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเครื่องที่ใช้งานจะมีเฉพาะคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ค ในปัจจุบันอุปกรณ์จำนวนมากสามารถเชื่อมต่อได้ ตั้งแต่ เครื่องเล่นเกม โทรศัพท์มือถือ แท๊ปเล็ด สมาร์ทโฟน ซึ่งอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อจะต้องมีการอ้างอิงที่อยู่โดยใช้หมายเลขไอพีแอดเดรส (IP ADDRESS) เหมือนเป็นการบอกตัวตนเพื่อรับบริการจากผู้ให้บริการอีกฝ่ายหนึ่งที่มีการติดต่อด้วย ซึ่งหากไม่สามารถกำหนดเลขไอพีให้กับอุปกรณ์นั้นได้ อุปกรณ์นั้นก็จะไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้

ระบบไอพีแอดเดรสที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้เป็นโพโตคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 (IP4) ซึ่งได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 โดยจะใช้ชุดตัวเลขฐานสิบ (เลข 0 ถึง เลข 9) 4 ชุดๆละ 3 ตัว เช่น 192.168.100.100 การกำหนดแบบนี้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ประมาณ 4 พันล้านคน อีกสาเหตุหนึ่งคือพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป จากเดิมจะเชื่อมต่อเมื่อต้องการใช้งาน ก็จะมีการเข้าออกจากการเชื่อมต่อสลับกันไป แต่ปัจจุบันเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานต่อไปอย่างแน่นอน เพราะเลขไอพีจะใช้งานร่วมกันทั่วทั้งโลก และประชากรโลกในขณะนี้มีรวมกันถึง 7 พันล้านคน

ดังนั้นทาง IETF (The Internet Engineering Task Force) จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานของระบบไอพีแอดเดรสเพิ่มขึ้นเป็น โพโตคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (IP6) โดยจะประกอบด้วยชุดตัวเลขฐาน 16 (เลข 0 ถึงเลข 9, A, B, C, D, E และ F) จำนวน 8 ชุดๆละ 4 ตัว เช่น 2014:AB00:CD00:EF00:1000:1000:1000 ในการอ้างอิงลักษณะนี้จะสามารถรองรับการใช้งานได้มากถึง สามร้อยสี่สิบล้านล้านล้านล้านล้านล้านหมายเลข

ในการเปลี่ยนระบบนี้ผู้ใช้บริการไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น และอุปกรณ์รุ่นใหม่เกือบทั้งหมด ก็รองรับระบบ IP6 แล้ว อีกส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการจะต้องปรับปรุงระบบให้รองรับกับระบบไอพีแบบนี้ ซึ่งจะช่วยการติดต่อสื่อสารไม่มีติดขัด

ข้อมูลอ้างอิง : เลขที่อยู่ไอพี