Results 1 to 2 of 2

ชื่อกระทู้: เสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง "เมื่อสามี...ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน"

  1. #1
    Cloud
    Guest

    เสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง "เมื่อสามี...ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน"

    เมื่อสามีและภริยา ประกอบกิจการร่วมกัน จะต้องเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง เบื้องต้นที่ควรทราบคือ ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Add Tax : VAT)

    สำหรับกิจการที่สามีและภริยาทำร่วมกันดังกล่าว หากมีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี จะต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของสามีและภริยา โดยต้องนำรายรับรวมทั้งหมดจากการประกอบกิจการมายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่อาจแบ่งรายรับแยกต่างหากจากกันได้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน

    แต่หากกิจการมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี มีสิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

    Name:  2.jpg
Views: 10587
Size:  23.8 KB

    หมายเหตุ กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือกิจการในประเทศไทย
    1) การขายสินค้าหรือหารให้บริการทางธุรกิจหรือวิชาชีพ โดยผู้ประกอบการ
    2) การนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้า


    2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT)

    สามีและภริยามีสิทธิเลือกที่จะนำรายได้จากกิจกหารที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว มายื่นแบบแสดงรายการ ดังนี้

    2.1 การเลือกยื่นแบบร่วมกัน สามีและภริยาต้องนำรายได้ยื่นแบบฯรวมกันและเสียภาษีในนามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
    หรือ
    2.2 การเลือกยื่นแบบแยกต่างหากออกจากกัน สามีและภริยาสามารถแยกรายได้ที่ได้รับจากกิจการ แลกแยกยื่นแบบฯได้
    - กรณีที่รายได้อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด สามีและภริยาจะยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากแยกจากกันในนามของตัวเองก็ได้
    - กรณีรายได้ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ก็ให้แบ่งรายได้เป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
    - กรณีรายได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ฯลฯ สามีและภริยาจะแบ่งรายได้เป็นของแต่ละฝายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่ารายได้ที่ได้รับ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แบ่งรายได้เป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง

    Name:  1.jpg
Views: 9881
Size:  27.4 KB

    หมายเหตุ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้ที่ได้รับระหว่างปีภาษี ซึ่งมี 8 ประเภท ได้แก่
    1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่
    - เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
    - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
    - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    - เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
    - ฯลฯ
    2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ได้แก่
    - ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
    - เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
    - เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
    - เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    - ฯลฯ
    3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
    4) เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้
    5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
    - การให้เช่าทรัพย์สิน
    - การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    - การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
    6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
    7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
    8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้


    อ้างอิง : เสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง เมื่อสามี...ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน และ ความรู้เรื่องภาษี

  2. #2
    Member
    วันที่สมัคร
    Feb 2024
    สถานที่
    Thailand
    โพสต์
    1

    Утепление дома снаружи цена под ключ

    Наша команда опытных исполнителей проштудирована предоставить вам инновационные приемы, которые не только обеспечивают надежную покров от мороза, но и дарят вашему дому оригинальный вид.
    Мы занимаемся с самыми современными средствами, гарантируя постоянный продолжительность использования и превосходные эффекты. Изолирование облицовки – это не только сбережение на отоплении, но и забота о окружающей среде. Сберегательные методы, которые мы применяем, способствуют не только личному, но и сохранению природных ресурсов.
    Самое первоочередное: Утепление частного дома снаружи цена у нас составляет всего от 1250 рублей за м2! Это доступное решение, которое преобразит ваш жилище в подлинный душевный уголок с минимальными издержками.
    Наши произведения – это не лишь теплоизоляция, это создание пространства, в где каждый элемент преломляет ваш персональный образ действия. Мы берем во внимание все все ваши требования, чтобы осуществить ваш дом еще более дружелюбным и привлекательным.
    Подробнее на https://www.stroystandart-kirov.ru
    Не откладывайте труды о своем обители на потом! Обращайтесь к специалистам, и мы сделаем ваш корпус не только более теплым, но и по последней моде. Заинтересовались? Подробнее о наших сервисах вы можете узнать на веб-ресурсе. Добро пожаловать в обитель удобства и качественного исполнения.
    Заказывайте утепление фасадов у команды профессионалов с 15 летним опытом!

กฎการส่งข้อความ

  • คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • คุณ ไม่สามารถ โพสไฟล์ได้
  • คุณ ไม่สามารถ แก้ไขโพสได้
  •  
  • BB code is ใช้ได้
  • Smilies are ใช้ได้
  • [IMG] code is ใช้ได้
  • [VIDEO] code is ใช้ได้
  • HTML code is งดใช้