Results 1 to 3 of 3

ชื่อกระทู้: ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)

  1. #1
    suree
    Guest

    Post ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)

    หลักการ

    การจัดเก็บภาษีนิติบุคคล เป็นการเก็บภาษีเงินได้ซ้อน 2 ครั้ง คือ เก็บจากกำไรสุทธิครั้งหนึ่งแล้ว และเก็บจากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรอีกครั้งหนึ่ง แต่มีการแก้ไขการซ้ำซ้อน โดย บุคคลธรรมดา จะได้รับเครดิตภาษี ส่วนนิติบุคคลจะนำมาเป็นรายได้ครึ่งหนึ่ง หรือ ไม่ต้องนำมาเป็นรายได้เลย ( แล้วแต่เงื่อนไข) อย่าลืมนำภาษีซ้อน และ BOI มาพิจารณาด้วย เพราะ กม.ภาษีซ้อ น และ BOI อยู่เหนือประมวลรัษฎากร กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี ( Accounting Profit or Loss ) อาจแตกต่างจาก กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษี (Taxable Profit or Loss) เพราะรายได้และรายจ่ายทางภาษี ต้องเป็นรายได้และรายจ่ายที่กม.กำหนดเงื่อนไขไว้

    ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

    นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ตาม ม.39 มีดังนี้


    1. บริษัทจำกัด
    2. บริษัทมหาชน จำกัด
    3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
    5. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ
    6. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
    7. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
    8. กิจการร่วมค้าซึ่งได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่าง
      1. บริษัทกับบริษัท
      2. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      3. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      4. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ บุคคลธรรมดา
      5. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
      6. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญ
      7. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ นิติบุคคลอื่น

    9. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข)
    10. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ปัจจุบันยังไม่มีประกาศกำหนด)
      นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ตาม ม.อื่นๆ มีดังนี้
      1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย มาตรา 66
      2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย มาตรา 66
      3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย และกิจการที่ทำนั้นเป็นกิจการประเภทขนส่งผ่านประเทศต่างๆ มาตรา 67
      4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย มาตรา 76 ทวิ
      5. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แม้มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ม.40(2)(3)(4)(5)(6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย มาตรา 70 ( ให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย )


    นิติบุคคลที่ ไม่ มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล เช่น

    1. กระทรวง ทบวง กรม
    2. องค์การรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยที่มิใช่บริษัทจำกัด
    3. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
    4. นิติบุคคลอาคารชุด
    5. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
    6. วัด
    7. มูลนิธิหรือสมาคมที่รมต.ประกาศเป็นองค์การสาธารณกุศล
    8. สหกรณ์
    9. หอการค้า
    10. สหภาพแรงงาน

    การคำนวณภาษี

    ฐานภาษีโดยทั่วไป คือ กำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จาก รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ (เงื่อนไขการคำนวณทส. หส. รายจ่าย) และ 65 ตรี (เงื่อนไขการหักรายจ่ายที่ไม่ยอมให้หัก) การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

    สาขาประกอบกิจการในตปท. ต้องนำเงินได้หรือกำไรสุทธิของสาขามารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีในไทยด้วย เพราะถือว่าเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ส่วนภาษีที่เสียตปท. อาจนำมาหักเป็นรายจ่าย หรือ เป็นเครดิตหักจากภาษีเงินได้ ต้องดูภาษีซ้อน หรือกม.ที่กำหนดไว้ เช่น เสียภาษีนิติบุคคลตปท.ที่ 40% สามารถนำมาให้เครดิตภาษีในไทยได้ 30% ที่เหลือให้เป็นค่าใช้จ่าย สาขา.ของธนาคารไทย ที่ไปตั้งในตปท ได้ให้บจ.ง.กู้เงิน และบจ.ง.จ่ายดบ.โดยตรงไปที่สาขาตปท. ไม่ต้องหักภาษีตามม.70 เพราะถือว่าจ่ายดบ.ให้บจ.ไทย สาขาที่รับดบ.ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะเป็นการประกอบธุรกิจนอกราชอาณาจักร

    ฐานภาษี
    มีดังนี้


    1. กรณีทั่วไป เสียจากกำไรสุทธิ (ที่กล่าวข้างต้น) ม.65
    2. กรณีนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตปท. ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ อาจขอเสีย ร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ถ้ายอดรายรับไม่ปรากฎ อาจประเมินโดยเทียบเคียงกับยอดในรอบบัญชีก่อน ถ้ายอดในรอบบัญชีก่อนไม่ปรากฎ ก็อาจประเมินตามที่เห็นสมควรก็ได้ (ป.13/2529 บอกว่าต้องขออนุญาตก่อน)
    3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยหรือตปท. หากไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้คำนวณภาษี หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบ หรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้สรรพากรตรวจสอบตามหมายเรียก สรรพากรมีอำนาจประเมินภาษี ร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ม.71 ( อ่าน ป.13/2529 มีวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายด้วย จะสามารถนำมาใช้ได้ไหม เพราะอาจเสียภาษีน้อยกว่าร้อยละ 5)
    4. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในไทยประเภทขนส่งระหว่างประเทศ ให้เก็บร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และปย.อื่นใดที่เรียกเก็บในไทยก่อนหักรายจ่าย หรือ ร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และปย.อื่นใดที่เรียกเก็บเนื่องในการรับขนของออกจากไทยก่อนหักรายจ่าย ม.67 (รายได้อื่นเสียจากฐานกำไรสุทธิ)
    5. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ม.40(2)(3)(4)(5)(6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 เฉพาะรายได้ 40(4)(ข) ส่วนรายได้อื่น หักร้อยละ 15 (ดูมาตรา 70)
    6. กรณีจำหน่ายเงินกำไรไปตปท. เสียร้อยละ 10 โดยนำส่งภายใน 7 วันนับแต่วันจำหน่าย ( นิยาม “จำหน่าย” ดู 70 ทวิ วรรค 2 )
    7. กรณีมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ อันมิใช่ค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา เสียร้อยละ 10 ของรายรับ และ 40(8) เสียร้อยละ 2 ของรายรับ


    ฐานภาษี (อธิบายเพิ่ม) แบ่งใหญ่ๆ ได้

    1. กำไรสุทธิ ม.65
    2. รายได้ก่อนหักรายจ่าย ม.67
    3. เงินที่ได้จ่ายจากหรือในไทย ม.70
    4. การจำหน่ายกำไรออกไปนอกปท. ม.70 ทวิ

    หมายเหตุ การเสียภาษีจากฐาน 1 , 2 , 3 จะเสียเพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น หากเสียภาษีจากฐาน 1 ก็อาจเสียจากฐาน 4 ได้ ถ้าได้จำหน่ายกำไรออกไปนอกปท. แต่หากเสียภาษีจากฐาน 2 , 3 จะไม่มีการเสียจากฐาน 4 อีก แม้ส่งเงินที่เหลือไปตปท.
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย suree : 17-07-2012 เมื่อ 15:54

  2. #2
    suree
    Guest

    Post Re: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ( Corporate Income Tax : CIT )

    กำหนดเวลาของรอบระยะเวลาบัญชี

    1. รอบบัญชี 12 เดือน เป็นปกติทั่วไป
    2. น้อยกว่า 12 เดือน มี 3 กรณี


    • นิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ (จะมากกว่า 12 เดือนไม่ได้)
    • นิติบุคคลขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบบัญชี ( จะมากกว่า 12 เดือนไม่ได้ )
    • นิติบุคคล เลิกกิจการ หรือ ควบเข้ากัน ให้ถือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกหรือควบเข้ากันเป็นวันสุดท้าย แม้นิติบุคคลจะจดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลจนกว่าจะได้ชำระบัญชีเสร็จสิ้น หากระหว่างชำระบัญชี มีรายได้ ต้องเสียภาษีด้วย (นิติบุคคลยังต้องยื่นแบบภงด 50 51 พร้อมงบการเงินต่อไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีแล้วเสร็จ)
    • การขยายรอบบัญชี นิติบุคคล จดเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีในกำหนดเวลาตามม.68 , 69 ถ้าได้ยื่นคำร้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนเลิก สรรพากรอาจอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ ( แต่วิธีนี้มักไม่นิยม เพราะจะใช้วิธีขอขยายเวลายื่นรายการออกไปแทน )

    อัตราภาษี มี หลายอัตรา ดังนี้

    1. ภาษีจากกำไรสุทธิ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (แต่มีการออก กม. ลดลงให้ในกรณีต่างๆ ดู ภงด 50)
    2. ภาษีตาม ม.70 นอกจากที่ระบุใน 3 ร้อยละ 15 ของรายรับ
    3. ภาษีตาม ม.70 เฉพาะ 40(4)(ข) ร้อยละ 10 ของรายรับ
    4. ภาษีตาม ม.70 ทวิ (จำหน่ายกำไร) ร้อยละ 10 ของเงินที่จำหน่าย
    5. มูลนิธิหรือสมาคม นอกจากที่ระบุใน 6 ร้อยละ 10 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
    6. มูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะ 40(8) ร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
    7. นิติบุคคลไทยหรือตปท.ที่มีปัญหา ร้อยละ 5 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
    8. นิติบุคคลตปท.ประกอบกิจการในไทยประเภทขนส่งระหว่างประเทศ ร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร ค่าระวาง

    การคำนวณกำไรสุทธิ

    กำไรสุทธิ คำนวณได้จาก รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ (เงื่อนไขการคำนวณทส. หส. รายจ่าย) และ 65 ตรี (เงื่อนไขการหักรายจ่ายที่ไม่ยอมให้หัก) การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

    รายได้

    เกณฑ์รับรู้รายได้ จะแตกต่างกันดู ทป.1/2528 , ทป.155/2549 , ป.39/2537 , ป.61/2539 , (รายได้บางประเภท จะต่างกับมาตรฐานการบัญชี) นิยามรายได้ แบ่งเป็น 2 กรณี

    1. รายได้จากกิจการ ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์
    2. รายได้เนื่องจากกิจการ ได้แก่ รายได้ที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ แต่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการดำเนินงานของกิจการ เช่น ขายสท. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบริษัทแม่ ภาษีที่ผู้อื่นออกแทน ส่วนลดจากการปลดหนี้

    ตัวอย่าง ที่ถือเป็นรายได้

    1. รายได้รับล่วงหน้า ให้รับรู้ตามเกณฑ์สิทธิ์ ดูทป.1/2528 , ทป.155/2549 เช่นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ให้รับรู้รายได้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จ แต่ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายจะโดนหักตามที่รับจริง และภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว
    2. ขายต่างประเทศ ให้รับรู้รายได้ ณ วันที่บริษัทขนส่งออกใบตราส่งสินค้า(B/L) ไม่ใช่วันที่ตามใบกำกับสินค้าหรือใบขนขาออก เพราะแสดงว่าได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอน และส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อและการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้ว ทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว (ส่วน vat จะเสียเมื่อชำระอากรขาออก หากได้รับยกเว้นอากรขาออก ความรับผิดจะเกิดเมื่อมีการออกใบขนสินค้าขาออก ซึ่งภาษีนิติบุคคลไม่ได้รับรู้เหมือน vat แต่จะรับรู้เมื่อมีการโอนความเสี่ยงในสินค้าให้บริษัทขนส่งสินค้าแล้ว )
    3. รับทส.โดยไม่มีค่าตอบแทน โดยบจ.เป็นเจ้าของที่ดิน ได้รับอาคารบนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ โดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของที่ดินต้องให้ผู้สร้างอาคารเช่าชั่วเวลาหนึ่ง บจ.ต้องคำนวณมูลค่าอาคารที่ได้รับเป็นกรรมสิทธิ ตาม ม.9 ทวิ เป็นเงินได้ในรอบบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ และมีสิทธิ์หักค่าสึกหรอ (บจ.ได้ทส.โดยไม่เสียค่าตอบแทนถือว่าได้รับทส.ซื่งเป็นงินได้ตาม ม.39 จึงเป็นรายได้ตาม ม.65)
    4. เงินชดเชยจากการส่งออกในรูปบัตรภาษี ถือเป็นรายได้เมื่อได้รับหนังสือแจ้งอนุมัติให้ได้รับบัตรภาษีจากกรมศุล
    5. ผู้แทนจำหน่ายได้รับรางวัลจากบจ. เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัลดังกล่าวถือเป็นรายได้ ต้องนำมารวมคำนวณภาษี และเมื่อผู้แทนขายสินค้าที่เป็นรางวัล ต้องนำกำไรจากการขายสินค้ามารวมคำนวณกำไร โดยผู้แทนจำหน่ายมีสิทธินำมูลค่าของรางวัลมาถือเป็นต้นทุนได้
    6. ผู้ผลิตสินค้าสนับสนุนมอบรางวัลให้แก่บจ. เพื่อนำไปแจกให้ผู้แทนจำหน่ายโดยไม่คิดมูลค่า รางวัลนื้ถือเป็นปย.ที่บจ.ได้รับ ต้องคำนวณเสียภาษี และเมื่อบจ.นำรางวัลที่ได้รับไปแจกให้ผู้แทนจำหน่าย บจ.สามารถนำมูลค่าของรางวัลมาเป็นรายจ่ายได้
    7. ให้เช่ารถยนต์ โดยผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าจดทะเบียนรถ ค่าต่อทะเบียน ค่าเบี้ยประกันจากผู้เช่า ถือเป็นเงินได้ 40(5)(ก) และให้เสีย vat ด้วย
    8. เงินได้ 40(5)(ก) รวมถึง การที่ผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นจากผู้เช่าด้วย เช่น ค่าล่วงเวลาพนักงานขับรถ ค่าทางด่วน ค่าอาหารของคนขับ ค่าภาษีโรงเรือน
    9. บจ.ได้ใช้อุปกรณ์ผลิตชิ้นส่วนจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ผลิตสินค้าขาย โดยบจ.ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ถือเป็นปย.อย่างอื่นที่ได้รับ ต้องนำมารวมเป็นรายได้ด้วย (ดังนั้นเวลาเราตั้งราคาขาย อย่าลืมคำนึงถึงภาษีตัวนี้ด้วย)

    ตัวอย่าง ที่ยังไม่ถือเป็นรายได้

    1. ส่งสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้าทดลองใช้โดยไม่คิดมูลค่า ไม่ว่าลูกค้าในหรือตปท เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการขาย ไม่ถือเป็นรายได้ และมีสิทธินำมูลค่าของสินค้าตามราคาทุนไปถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (แม้ไม่เสียภาษีนิติบุคคล แต่การโอนสินค้ายังคงต้องเสีย vat แต่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี)
    2. เงินมัดจำค่าขายสินค้า ไม่ถือเป็นรายได้ จะเป็นรายได้จนกว่ากิจการได้โอนความเสี่ยง และ ค่าตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้ผู้ซื้อ ซึ่งตรงกับมาตรฐานบัญชี (แต่ vat เกิดขึ้นแล้ว เมื่อรับเงิน)

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย suree : 17-07-2012 เมื่อ 15:53

  3. #3
    Senior Member
    วันที่สมัคร
    Feb 2024
    สถานที่
    United States
    โพสต์
    2,509

    world war z literary analysis

    Billy Roberts from Auburn was looking for world war z literary analysis

    Santos Coleman found the answer to a search query world war z literary analysis


    ESSAYERUDITE.COM





    world war z literary analysis










    how to write a admission essay
    pay for my admission essay on donald trump
    como escribir el objetivo de un resume
    cv cover letter for advertised job
    bc government resume builder
    resume presentations poster
    esl masters essay writing sites uk
    la dissertation sociologie gilles ferrol
    art education research paper
    esl term paper proofreading services for mba
    best report writer for hire
    essay on the buddhas of bamyan
    automotive mechanic skills for resume
    comparative essay outline intro
    help with management admission essay
    dissertation on construction
    cover letter for a unit secretary position
    how to write on a document
    much ado about nothing essay notes
    custom admission paper editing websites au
    alien abduction research papers
    usc admission essay topics
    top reflective essay ghostwriting websites ca
    changed essay life
    type my critical analysis essay on shakespeare
    technical cv writing
    computer tech resume cover letter
    outline thesis writing
    esl presentation writer website for school
    business plan pro windows
    esl dissertation chapter ghostwriters service for school
    university of wisconsin thesis
    how to write excel macros
    how to write script for radio
    general foreman resume
    computer terminal desktop wallpaper
    how to write a introduction paragraph for a argumentative essay
    writing tips research proposal nursing guide
    what to do on a resume
    outlines research papers mla
    bioterrorism essay
    how to methodology dissertation
    steps writing research essay writing paper
    engineering project management thesis
    essay topics for law
    esl essay proofreading site for masters
    marriage versus living together comparison-contrast essay
    good conclusion
    art school essay topics
    ncsu application essay
    resume phi kappa phi
    essay advice online
    professional report writing for hire ca
    top content writing websites
    how to write a psychoanalytic literary criticism paper
    sample pharmacy personal essay
    help with professional report online
    persuasive essay on pro-life abortion
    shakespere essays
    resume for secratary
    controversial essay sample
    dissertation ou commentaire compos
    homework fractions decimals
    best dissertation hypothesis ghostwriters website usa
    linux administrator job resume
    salon manager resume
    essay of environmental protection
    pay to get law dissertation conclusion
    example cover letter human resources position
    best masters custom essay ideas

    popular article review ghostwriters for hire gb
    oedipus essay tragic hero
    custom ghostwriting site ca
    essays on film reviews
    resume file transfer mac
    honors thesis msu
    boss is always right essay
    how to cite a website apa format

กฎการส่งข้อความ

  • คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • คุณ ไม่สามารถ โพสไฟล์ได้
  • คุณ ไม่สามารถ แก้ไขโพสได้
  •  
  • BB code is ใช้ได้
  • Smilies are ใช้ได้
  • [IMG] code is ใช้ได้
  • [VIDEO] code is ใช้ได้
  • HTML code is งดใช้