เสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง “เมื่อสามี…ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน”

วันที่ 7 สิงหาคม 2014
  9,564 views

0

เมื่อสามีและภริยา ประกอบกิจการร่วมกัน จะต้องเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง เบื้องต้นที่ควรทราบคือ ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Add Tax : VAT)

สำหรับกิจการที่สามีและภริยาทำร่วมกันดังกล่าว หากมีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี จะต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของสามีและภริยา โดยต้องนำรายรับรวมทั้งหมดจากการประกอบกิจการมายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่อาจแบ่งรายรับแยกต่างหากจากกันได้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน

แต่หากกิจการมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี มีสิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

1

หมายเหตุ กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือกิจการในประเทศไทย

  • การขายสินค้าหรือหารให้บริการทางธุรกิจหรือวิชาชีพ โดยผู้ประกอบการ
  • การนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้า

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax : PIT)

สามีและภริยามีสิทธิเลือกที่จะนำรายได้จากกิจกหารที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว มายื่นแบบแสดงรายการ ดังนี้

  1. การเลือกยื่นแบบร่วมกัน สามีและภริยาต้องนำรายได้ยื่นแบบฯรวมกันและเสียภาษีในนามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ
  2. การเลือกยื่นแบบแยกต่างหากออกจากกัน สามีและภริยาสามารถแยกรายได้ที่ได้รับจากกิจการ แลกแยกยื่นแบบฯได้
      • กรณีที่รายได้อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด สามีและภริยาจะยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากแยกจากกันในนามของตัวเองก็ได้
      • กรณีรายได้ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ก็ให้แบ่งรายได้เป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
      • กรณีรายได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ฯลฯ สามีและภริยาจะแบ่งรายได้เป็นของแต่ละฝายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่ารายได้ที่ได้รับ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แบ่งรายได้เป็นของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง

2

หมายเหตุ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้ที่ได้รับระหว่างปีภาษี ซึ่งมี 8 ประเภท ได้แก่

  1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่
    • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
    • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
    • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
    • ฯลฯ
  2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ได้แก่ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
    • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
    • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
    • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
    • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    • ฯลฯ
  3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
  4. เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้
  5. เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
    • การให้เช่าทรัพย์สิน
    • การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    • การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
  6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
  7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  8. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้

อ้างอิง : เสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง เมื่อสามี…ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน และ ความรู้เรื่องภาษี