นโยบายการขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

วันที่ 12 มิถุนายน 2014
  26,785 views

กรมสรรพากรมีนโยบายที่จะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการให้ถูกต้อง และรวดเร็ว กล่าวคือ ระบบการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะต้องดำเนินการให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เสียภาษีในแง่ของการได้รับคืนภาษีที่รวดเร็วทันใจ และต่อกรมสรรพากรคือรวดเร็วและถูกต้อง

การตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นการตรวจ เพื่อให้การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้อง มิใช่เป็นการตรวจเพื่อที่จะไม่คืนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกรมสรรพากรได้ตรวจพบว่า ผู้ประกอบการมีการทุจริตในการขอคืนภาษีโดยการแจ้งแสดงรายการเท็จหลายกรณี ทําให้กรมสรรพากรมีความจําเป็นต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ โดยละเอียดและต้องใช้เวลาพอสมควรจึงอาจก่อให้เกิดความล่าช้า

แต่ในขณะนี้เพื่อความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็ว เราได้มีการแบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มผู้ส่งออก เน้นที่การอํานวยความสะดวกต่อผู้ส่งออก เป็นการส่งเสริมธุรกิจส่งออกคือ พิจารณาการขอคืนให้เป็นการเร่งด่วนก่อน แต่หมายความว่าเอกสารต่าง ๆ ต้องถูกต้อง ครบถ้วน
2. ผู้ประกอบการในประเทศ ประเภทซื้อมาขายไป โดยปกติไม่น่าจะต้องขอคืนเพราะการทําธุรกิจย่อมมีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องชําระภาษี ผู้ประกอบการกลุ่มนี้จึงเป็นที่เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบหลักฐานโดยละเอียดก่อน

2014-06-06-001

เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปถึงแนวทางของการแก้ไขปัญหาการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

1. กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอคืนภายใน 90 วัน โดยที่ผู้ขอคืนนั้นมีหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง
2. กรมสรรพากรได้สั่งการให้สรรพากรพื้นที่และสรรพากรจังหวัด แยกรายชื่อผู้ประกอบการส่งออกที่ขอคืนภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อคืนภาษีให้โดยเร็ว
3. กรมสรรพากรจะตรวจสอบผู้ขอคืนภาษีที่มิได้เป็นผู้ส่งออกอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนคืน เนื่องจากโดยเหตุผลแล้ว การประกอบธุรกิจน่าจะมีมูลค่าเพิ่ม (กําไร) คือน่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มนําส่งในแต่ละเดือนมิใช่ขอคืนภาษี
4. กรมสรรพากรจะทบทวนหลักเกณฑ์ผู้ประกอบการที่ดีและดีพิเศษโดยมิได้มุ่งเน้นในเรื่องยอดส่งออก แต่จะพิจารณาจากประวัติการภาษี

ดังนั้น ผู้ส่งออกที่เป็นรายเล็กหรือรายขนาดกลางที่มีประวัติการเสียภาษีดีก็จะเป็นผู้ประกอบการที่ดีและดีพิเศษในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชําระภาษีและขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการควรจัดเตรียมหลักฐานเอกสารให้พร้อมทุกครั้ง เช่น รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ใบกํากับภาษีที่ถูกต้อง (ไม่นับรวมใบกํากับภาษีปลอมเพราะกรมสรรพากรมีวิธีตรวจเช็คได้ ดังนั้นผู้ประกอบการเองย่อมจะทราบดีว่าใบกํากับภาษีปลอมหรือไม่ปลอม มิเช่นนั้นแล้วปัญหายุ่งยากจะตามมาทีหลัง) เพราะหากหลักฐานไม่ครบ ไม่ถูกต้อง จะทําให้เจ้าหน้าที่สรรพากรต้องใช้เวลาในการตรวจสอบที่มากขึ้นกว่าเดิม ทําให้เกิดความล่าช้าได้

กำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการมีภาษีที่จะได้รับคืนให้ยื่นคําร้องภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกําหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสําหรับเดือนภาษีนั้น หรือนับแต่วันที่ได้ชําระภาษี
2) กรณีผู้นําเข้ามีข้อโต้แย้งตามกฎหมายศุลกากรหรือเป็นคดีในศาล ให้ยื่นคําร้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยข้อโต้แย้งอากรขาเข้าเป็นหนังสือ หรือนับแต่วันที่มีคําพิพากษาของศาลซึ่งคดีถึงที่สุด

สถานที่ยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1) ที่ว่าการอําเภอท้องที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2) สํานักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสํานักงานสรรพากรจังหวัดแล้วแต่กรณี หรือ
3) กรณีผู้ขอคืนมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ยื่นคําร้อง ณ ที่ว่าการอําเภอที่ที่ผู้ขอคืนมีภูมิลําเนาอยู่
4) กรณีผู้ขอคืนมีสถานประกอบการหลายแหล่ง ให้แยกยื่นคําร้องเป็นรายสถานประกอบการเว้นแต่กรณีได้รับอนุมัติจากอธิบดี ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน ให้ยื่นคําร้องรวมกัน ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ที่ได้รับอนุมัติ
5) กรณีผู้นําเข้ามิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และต่อมาได้ส่งสินค้ากลับออกไป การขอคืนภาษีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรที่กําหนดไว้สำหรับขอคืนอากรขาเข้าให้ยื่นคําร้องขอคืน ณ ด่านศุลกากรขาเข้า

วิธีการรับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

1) รับเงินคืนเป็นเงินสด
2) นําภาษีที่ชําระเกินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขอคืน
3) กรณีขอนําเงินภาษีที่ชําระเกินไปใช้ในเดือนถัดไป

เอกสารอ้างอิง เอกสาร “การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ,กรมส่งเสริมการส่งออกเอกสารเผยแพร่ ,“ธุรกิจนำเข้าและส่งออกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม” ,กรมสรรพากร , ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์